เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2561 สอบมีนาคม 2562

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2561 สอบมีนาคม 2562

ข้อ 1 ( 3 )

ข้อ 2 ( 2 )

ข้อ 3 ( 4 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 2 )

ข้อ 6 ( 3 )

ข้อ 7 ( 4 )

ข้อ 8 ( 3 )

ข้อ 9 ( 1 )

ข้อ 10 ( 1 )

ข้อ 11 ( 4 )

ข้อ 12 ( 5 )

 

 

 

ข้อ 13 ( 2 )

ข้อ 14 ( 5 )

ข้อ 15 ( 5 )

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

ข้อสอบ

ข้อ 1) พืช A และ B เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน คือ ทะเลทรายและป่าดิบชื้น โดยพืชแต่ละชนิด มีลักษณะใบต่างกันดังนี้     

     พืช A ใบมีการลดรูปให้มีขนาดเล็ก มีสารเคลือบที่ผิวใบหนาและมีจำนวนปากใบน้อย
     พืช B ใบมีขนาดใหญ่ มีสารเคลือบที่ผิวใบบาง และมีจำนวนปากใบมากผลการศึกษาอัตราการคายน้ำของพืช 2 ชนิดในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นดังกราฟ

O-net

จากข้อมูล ข้อใดระบุกราฟแสดงอัตราการคายน้ำของพืชและลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชดังกล่าวได้ถูกต้อง (O-net 61)

1.กราฟที่ 1 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
2. กราฟที่ 1 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช B ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
3. กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย
4. กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ป่าดิบชื้น
5. กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช B ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ป่าดิบชื้น

 

 

เฉลยคำตอบพร้อมคำอธิบาย

คำตอบข้อ 1 ) ตอบ  (3 ) กราฟที่ 2 แสดงอัตราการคายน้ำของพืช A ซึ่งเจริญได้ดีในพื้นที่ทะเลทราย

เหตุผล


๐ พืช A มีการลดรูปใบให้มีขนาดเล็ก , มีสารเคลือบผิวใบหนา
==> โครงสร้างในลักษณะดังกล่าว ช่วยลดการสูญเสียน้ำของพืช ทำให้อัตราการคายน้ำลดลง

๐ พืช B มีใบขนาดใหญ่
==> แสดงว่าอยู่ในที่แสงน้อย หรือป่าทึบ ต้องใช้ใบขนาดใหญ่กางเพื่อรับแสง

๐ พืช B มีสารเลือบผิวใบบาง
==> สารเคลือบผิวใบคือคิวติน ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำ เมื่อสารเคลือบผิวใบบางแสดงว่า น้ำภายในใบมีโอกาสสูญเสียออกสู่ภายนอกได้เพิ่มขึ้น

๐ พืช B มีจำนวนปากใบมาก
==> ปากใบเป็นตำแหน่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส และการคายน้ำของพืช การที่พืชมีปากใบจำนวนมากจึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการสูญเสียน้ำในรูปของการคายน้ำ

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าพืชชนิด A มีการปรับตัวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ น่าจะเป็นพืชที่อยู่ในทะเลทรายส่วนพืชชนิด B มีการปรับตัวให้อัตราการคายน้ำเพิ่มสูงขึ้นแสดงว่าอยู่ในที่ชุ่มชื้นน่าจะอยู่ในพื้นที่ป่าดิบชื้น

๐ จากกราฟแสดงอัตราการคายน้ำ หมายเลข 1 มีอัตราการคายน้ำสูง เหมาะสมกับโครงสร้างของพืช ชนิด B หมายเลข 2 มีอัตราการคายน้ำต่ำ เหมาะกับโครงสร้างของพืชชนิด A

 
 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

[ ข้อ 1 ] / [ ข้อ 2 ] / [ ข้อ 3 ] / [ ข้อ 4 ]/ [ ข้อ 5 ]/ [ ข้อ 6 ]/ [ ข้อ 7 ]/ [ ข้อ 8 ]/ [ ข้อ 9 ]/

 

[ ข้อ 10 ]/ [ ข้อ 11 ]/ [ ข้อ 12 ] / [ ข้อ 13 ] / [ ข้อ 14 ] / [ ข้อ 15 ]

 
 
 
 

 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::

ติดตามผลงานทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค  ::